การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นแนวคิดที่ได้รับการกล่าวถึงในวง
การศึกษามาอย่างยาวนาน จากแนวคิดของ ดิวอี นักการศึกษาคนสำคัญของอเมริกาที่เสนอแนวคิด
เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้นักเรียนได้พัฒนาประสบการณ์การ
เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งโรงเรียนในประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ แต่การจัดการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษา และต่อมาได้กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) โดยระบุไว้ในแนว
การจัดการศึกษาให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน
สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 120-121) ได้
อธิบายว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก็คือผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง หมายถึงการคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะ
ได้รับให้มากที่สุดในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่หรือมี
ส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทั้งทางกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม บทบาทการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
กระบวนการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน ของผู้เรียนมีมากกว่าผู้สอน และผู้เรียนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้อย่างตื่นตัว การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ต้องอาศัยบทบาทของครูและบทบาทของ
นักเรียนร่วมกัน ดังนั้นบทบาทที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคคลทั้งสองฝ่าย จึงควรเป็นไปตามตัว
บ่งชี้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542, หน้า 3-4) ได้กำหนดไว้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของผู้เรียน
พฤติกรรมที่แสดงว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่
1)ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2)ผู้เรียนฝึกประสบการณ์จนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
3)ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
4)ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์จินตนาการ ตลอดจนได้แสดงออกอย่างชัดเจน
และมีเหตุผล
5)ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหา ทั้งด้วยตนเองและร่วมด้วยช่วยกัน
6)ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
7) ผู้เรียนได้เลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมี
ความสุข
8) ผู้เรียนฝึกตนเองให้มีวินัยและมีความรับผิดชอบในการทำงาน
9) ผู้เรียนฝึกประสบการณ์ ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนสนใจใฝ่หาความรู้อย่าง
ต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การสอนของครู
พฤติกรรมที่แสดงว่าครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่
1) ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
2) ครูจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3) ครูเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลและแสดงความเมตตาผู้เรียนอย่างทั่วถึง
4) ครูจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์
5) ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทำและฝึกปรับปรุงตนเอง
6) ครูส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม พร้อมทั้งสังเกตส่วนดี และปรับปรุงส่วนด้อย
ของผู้เรียน
7) ครูใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้
8) ครูใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง
9) ครูฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย
10) ครูสังเกตและประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
การจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ครูจำเป็นต้องเข้าใจบทบาทของ
ตนเองและพฤติกรรมที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน ดังนั้นตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนที่กล่าวมา
ข้างต้นนี้จึงเป็นแนวทางสำคัญสำหรับนำไปใช้พัฒนาบทบาทของครูและผู้เรียนในกระบวนการเรียน
การสอนที่จัดขึ้น
การศึกษามาอย่างยาวนาน จากแนวคิดของ ดิวอี นักการศึกษาคนสำคัญของอเมริกาที่เสนอแนวคิด
เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยให้นักเรียนได้พัฒนาประสบการณ์การ
เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งโรงเรียนในประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ แต่การจัดการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษา และต่อมาได้กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545) โดยระบุไว้ในแนว
การจัดการศึกษาให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน
สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งทิศนา แขมมณี (2555, หน้า 120-121) ได้
อธิบายว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก็คือผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง หมายถึงการคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะ
ได้รับให้มากที่สุดในกระบวนการเรียนการสอน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่หรือมี
ส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทั้งทางกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม บทบาทการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
กระบวนการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน ของผู้เรียนมีมากกว่าผู้สอน และผู้เรียนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้อย่างตื่นตัว การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ต้องอาศัยบทบาทของครูและบทบาทของ
นักเรียนร่วมกัน ดังนั้นบทบาทที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของบุคคลทั้งสองฝ่าย จึงควรเป็นไปตามตัว
บ่งชี้ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2542, หน้า 3-4) ได้กำหนดไว้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ของผู้เรียน
พฤติกรรมที่แสดงว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่
1)ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2)ผู้เรียนฝึกประสบการณ์จนค้นพบความถนัดและวิธีการของตนเอง
3)ผู้เรียนทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
4)ผู้เรียนฝึกคิดอย่างหลากหลายและสร้างสรรค์จินตนาการ ตลอดจนได้แสดงออกอย่างชัดเจน
และมีเหตุผล
5)ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงให้ค้นหาคำตอบ แก้ปัญหา ทั้งด้วยตนเองและร่วมด้วยช่วยกัน
6)ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้า รวบรวมข้อมูลและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง
7) ผู้เรียนได้เลือกทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเองอย่างมี
ความสุข
8) ผู้เรียนฝึกตนเองให้มีวินัยและมีความรับผิดชอบในการทำงาน
9) ผู้เรียนฝึกประสบการณ์ ปรับปรุงตนเองและยอมรับผู้อื่น ตลอดจนสนใจใฝ่หาความรู้อย่าง
ต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้การสอนของครู
พฤติกรรมที่แสดงว่าครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้แก่
1) ครูเตรียมการสอนทั้งเนื้อหาและวิธีการ
2) ครูจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ปลุกเร้า จูงใจและเสริมแรงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
3) ครูเอาใจใส่นักเรียนเป็นรายบุคคลและแสดงความเมตตาผู้เรียนอย่างทั่วถึง
4) ครูจัดกิจกรรมและสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้แสดงออกและคิดอย่างสร้างสรรค์
5) ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกคิด ฝึกทำและฝึกปรับปรุงตนเอง
6) ครูส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม พร้อมทั้งสังเกตส่วนดี และปรับปรุงส่วนด้อย
ของผู้เรียน
7) ครูใช้สื่อการสอนเพื่อฝึกการคิด การแก้ปัญหาและการค้นพบความรู้
8) ครูใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตจริง
9) ครูฝึกฝนกิริยามารยาทและวินัยตามวิถีวัฒนธรรมไทย
10) ครูสังเกตและประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
การจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ครูจำเป็นต้องเข้าใจบทบาทของ
ตนเองและพฤติกรรมที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน ดังนั้นตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนที่กล่าวมา
ข้างต้นนี้จึงเป็นแนวทางสำคัญสำหรับนำไปใช้พัฒนาบทบาทของครูและผู้เรียนในกระบวนการเรียน
การสอนที่จัดขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น