ระบบการศึกษาในปัจจุบันพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง โดยเห็นได้จากพนักงานของบริษัทต่าง ๆ ต้องใช้เวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีการปรับรื้อระบบของบริษัทครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะต้องการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวของธุรกิจ และวิถีของกลุ่มคนรวมกับวัฒนธรรม และความเป็นตัวของตัวเองหรือที่เรียกว่า ปัจเจกชนธุรกิจ จึงต้องสนองตอบความหลากหลายนี้ ขณะที่การศึกษากำลังดำเนินการผลิตคนที่เหมาะสมกับสังคมยุคอุตสาหกรรม หมายถึงทุกอย่างผลิตออกมาเหมือนกันหมดไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงาน และสร้างคนให้มีพลังสร้างสรรค์ที่จะคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นและมีงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นระบบการศึกษาซึ่งมีหน้าที่เตรียมคนสำหรับงานในอนาคตจะต้องเป็นภาระที่นักการศึกษา บริษัท ห้างร้าน และสังคมต้องร่วมมือกันปฏิรูปขึ้นมาหใหม่ (F.J. Eyschen. 1994)
แนวความคิดในการปฏิรูปการศึกษา
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั่งเดิมจะลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนจะเปลี่ยนแปลงไปเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม ่และเป็นตัวนำในการสร้างบริษัทใหม่จึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างระบบพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่โดยเฉพาะองค์กรการพัฒนาการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
บทบาทใหม่ขององค์กร
ในส่วนของบทบาทและหน้าที่ใหม่ขององค์กรในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร หมายถึงหน่วยงานที่มีภาระกิจหลักดังนี้
1. การบริการและการจัดหลักสูตรในหน่วยงานราชการศึกษา
2. จัดให้มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสื่อการเรียนต่าง ๆ ให้ทันสมัย
3. จัดสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
กล่าวคือองค์กรต้องกำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ดังนี้
1. การใช้แหล่งสารสนเทศในแนวอนาคต ประกอบด้วยนโยบายด้านสารสนเทศจัดสภาพแวดล้อมของเครือข่าย การเรียนรู้การกระจายการใช้คอมพิวเตอร์ การรวมแหล่งสารสนเทศ ความเร็วของสารสนเทศ การใช้ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) สื่อการเรียนการสอนในรูปของสื่อผ่านระบบเครือข่าย (Web-Based) การบูรณาการเทคโนโลยีรวมถึงการประเมินค่าใช้จ่ายและผลที่คาดหวังจากการดำเนินงาน
2. นโยบายด้านโครงสร้างขององค์กร ควรมีการปรับรื้อโครงสร้างใหม่เป็นองค์กรบริหารแห่งสารสนเทศเริ่มจากแผนยุทธศาสตร์องค์กรกระบวนการตามโครงสร้างของไซเบอร์เนติก (Cybernetics) การปรับรื้อระบบบริการจัดสื่อการสอนในรูปของระบบเปิด โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก
แนวความคิดในการปฏิรูปการศึกษา
การเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและครู การเรียนการสอนแบบดั่งเดิมจะลดน้อยลง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนจะเปลี่ยนแปลงไปเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม ่และเป็นตัวนำในการสร้างบริษัทใหม่จึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างระบบพัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่โดยเฉพาะองค์กรการพัฒนาการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
บทบาทใหม่ขององค์กร
ในส่วนของบทบาทและหน้าที่ใหม่ขององค์กรในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศองค์กร หมายถึงหน่วยงานที่มีภาระกิจหลักดังนี้
1. การบริการและการจัดหลักสูตรในหน่วยงานราชการศึกษา
2. จัดให้มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และสื่อการเรียนต่าง ๆ ให้ทันสมัย
3. จัดสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
กล่าวคือองค์กรต้องกำหนดรูปแบบการบริหารใหม่ดังนี้
1. การใช้แหล่งสารสนเทศในแนวอนาคต ประกอบด้วยนโยบายด้านสารสนเทศจัดสภาพแวดล้อมของเครือข่าย การเรียนรู้การกระจายการใช้คอมพิวเตอร์ การรวมแหล่งสารสนเทศ ความเร็วของสารสนเทศ การใช้ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) สื่อการเรียนการสอนในรูปของสื่อผ่านระบบเครือข่าย (Web-Based) การบูรณาการเทคโนโลยีรวมถึงการประเมินค่าใช้จ่ายและผลที่คาดหวังจากการดำเนินงาน
2. นโยบายด้านโครงสร้างขององค์กร ควรมีการปรับรื้อโครงสร้างใหม่เป็นองค์กรบริหารแห่งสารสนเทศเริ่มจากแผนยุทธศาสตร์องค์กรกระบวนการตามโครงสร้างของไซเบอร์เนติก (Cybernetics) การปรับรื้อระบบบริการจัดสื่อการสอนในรูปของระบบเปิด โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น