1. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
วิธีสอนนี้ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา หลักใหญ่อาศัยวิธีการสอนที่ใช้ แก้ปัญหาของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ทุกประการคือ
- กําหนดขอบเขตของปัญหา (Location of Problem)
- ตั้งสมมติฐาน (Setting up of Hypothesis)
- ทดลองและรวบรวมข้อมูล (Experimenting and Gathering of Data)
- วิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
- สรุป (Conclusion)
2. วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing)
วิธีการสอนแบบแสดงบทบาท เป็นการสอนที่กําหนดให้ผู้เรียน แสดงบทบาทตาม สมมติขึ้นเทียบเคียงกับสภาพที่เป็นจริงหรือแสดงออกตามแนวที่คิดว่าควรจะเป็น เพื่อให้ผู้ดูเกิด ความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นการแสดงบทบาทสมมติจะช่วยให้เกิดความสนใจ ฝึกความกล้า ที่จะแสดงออก เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ตรึงเครียดของเด็ก การแสดงบทบาทสมมติต่างจากเกม จําลองสถานการณ์ ศรงที่ไม่มีเกณฑ์และการแข่งขัน
3. วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
วิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนโดยนําหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็น โอกาสให้นักเรียนได้ค้นพบปัญหาและวิธีการแก้ไขด้วยกระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้น 25 สอนแบบวิทยาศาสตร์ เหมาะสําหรับ การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง แบบง่ายๆ ซึ่งจะต้องจัดเนื้อหาให้ เหมาะสมกับวัย และระดับความสามารถของผู้เรียนจึงจะบังเกิดผลดี
4. วิธีสอนตามขั้นที่ 4 ของอริยสัจ (Buddist's Method)
ขั้นต่างๆ ของอริยสัจสี่ = ขั้นต่างๆ ของวิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ Reflective Thinking
ทุกข์ = กําหนดปัญหา
สมุทัย = การตั้งสมมติฐาน
นิโรธ = การทดลองและเก็บข้อมูล
มรรค = การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป
5. วิธีการสอนแบบทดลอง (The Laboratory Method)
วิธีการสอนแบบทดลอง มีลักษณะคล้ายกับวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ แต่มี การปรับปรุงหลักการบางส่วนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนวิชาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
วิธีการสอนแบบทดลอง แสดงข้อเท็จจริง จากการสืบสวน ค้นคว้าและทดลอง
วิธีการสอนแบบนี้ยังต่างจากการสอนแบบสาธิตด้วย เพราะการสอนแบบสาธิตเป็น ผู้ทดลองให้นักเรียนดูส่วนการสอนแบบทดลองนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
6. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
วิธีการสอนแบบอภิปรายเป็นการสอนแบบการเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อ ช่วยแก้ไขปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครู เป็นผู้ประสานงาน ครูไม่ต้องซักถามปัญหานักเรียนแต่ให้นักเรียนซักถามปัญหาและช่วยกันตอบ อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกพูดและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันแบบประชาธิปไตย
7. วิธีการสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching)
วิธีการสอนแบบจุลภาค เป็นนวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) เป็นประสบการณ์ที่ย่อส่วนลงมาอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างรัดกุม โดยสอนในห้องเรียน แบบง่ายๆ กับนักเรียน 5-6 คน ใช้เวลา 5-15 นาที เปิดโอกาสให้ครู ได้ฝึกทักษะการสอนแบบใหม่ๆ ขณะการสอนมีการบันทึกภาพเพื่อให้ครูได้ดูการสอนของตน เพื่อปรับปรุงทักษะให้ดีขึ้น ก่อนนําไปใช้จริงในชั้นเรียน การสอนวิธีนี้จึงเป็นการสอนแบบย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชิ้นงาน และทักษะ
8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)
วิธีสอนแบบโครงการ เป็นการสอนที่ให้นักเรียนเป็นหมู่หรือรายบุคคลได้วางโครงการ และดําเนินงานให้สําเร็จตามโครงการนั้น เป็นการสอนที่สอดคล้องกับสภาพชีวิตจริงนักเรียนเริ่มต้นทําโครงการด้วยการตั้งปัญหาและดําเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น โครงการ แก้ปัญหาความสกปรกของโรงเรียน เป็นต้น
9. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นําเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กําหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย” โดยไม่ยึด ขอบเขตรายวิชาแต่ถือเอาความมุ่งหมายของหน่วยเป็นหลัก เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของ ผู้เรียน การสอนเป็นหน่วยนั้นบางหน่วยจะสอนเป็นเวลาหลายเดือน บางหน่วยสอนจบภายในสอง สามวัน แล้วแต่ความเล็กใหญ่ของหน่วย
10. วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
เป็นการเรียนรู้จากการประกอบกิจกรรมของนักเรียนโดยแบ่งบทเรียนออกเป็น 4 - 6 กลุ่ม แต่ละศูนย์ประกอบกิจกรรมแตกต่างกันออกไปตามที่กําหนดไว้ในชุดการสอน แต่ละกลุ่มจะมี สื่อการเรียนที่จัดไว้ในซองหรือในกล่องวางบนโต๊ะเป็นศูนย์กิจกรรม แต่ละกลุ่มหมุนเวียนกัน ประกอบกิจกรรมตามศูนย์ต่างๆ แห่งละ 15 - 20 นาที จนครบทุกศูนย์
11. วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)
วิธีการสอนโดยใช้บทเรียนแบบโปรแกรม หมายถึง สื่อการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคล โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายๆ กรอบ แต่ละ กรอบจะมีเนื้อหาเฉพาะแบบฝึกให้ทําพร้อมเฉลยคําตอบ
12. บทเรียนโมดูล (Module)
บทเรียน โมดูลเป็นบทเรียนหน่วยหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนที่สร้างขึ้น บทเรียนโมดูลจะประกอบด้วยองค์ประกอบสําคัญ คือ องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)
13. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
คอมพิวเตอร์ คือ สื่อการสอนที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูง ที่นํามาประยุกต์ใช้ในการจัด กรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนคอมพิวเตอร์มีปฏิสัมพันธ์กัน หลักการของระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนทุกแนวคิดมุ่งที่จะให้ระบบคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนให้
16. การสอนแบบ 4 MAT
เป็นแผนการสอนที่ประยุกต์มาจากแบบใยแมงมุม แต่กิจกรรมจะนั้น 4 ขั้นตอนหรือ ใช้กับผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ
ขั้นที่ 1 Why (ทําไม) เพื่อตั้งคําถาม กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องที่เรียน
ขั้นที่ 2 What (อะไร) เป็นการอธิบายความเข้าใจการจัดการศึกษาด้วยตนเอง
ขั้นที่ 3 How (ทําอย่างไร) เป็นการนําไปปฏิบัติการนําไปใช้
ขั้นที่ 4 If (ถ้า...) เป็นการกระตุ้น
17. แผนการสอนแบบ CIPPA
แผนการสอนแบบ CIPPA เป็นแผนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง 5 ด้าน ได้แก่
1. Construct หรือ การสร้างความรู้ตามแนวคิดของ Constructivism ที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
2. Interaction หรือการปฏิสัมพันธ์หมายถึงผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนสื่อ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. Physical Participation หรือการมีส่วนร่วมทางกาย หมายถึง ผู้เรียนมีโอกาส เคลื่อนไหวร่างกายในการทํากิจกรรมลักษณะต่างๆ
4. Process Learning หรือการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จําเป็นต่อการ ดำรงชีวิต
5. Application หรือการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนําความรู้ ไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ
18. วิธีสอนแบบ Storyline
วิธีสอนแบบ Storyline เป็นการสอนแบบบูรณาการโดยการดึงเอาแนวคิดจากวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษา ศิลปะ โดยใช้กระบวนการหลากหลายมาแก้ปัญหา และกิจกรรมหลายๆรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและตอบสนองความแตกต่าง ของผู้เรียน โดยคํานึงว่าผู้เรียนมีประสบการณ์และทักษะเดิม มีการเรียนรู้ในหลายลักษณะเช่น เรียนรายบุคคล กลุ่มใหญ่แต่เน้นการทํางานแบบร่วมมือ (Cooperative) และทํางานเป็นทีม
อ้างอิง
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น